วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

สื่อสังคมออนไลน์

สื่อสังคมออนไลน์


จรรยาบรรณ

          จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้


จรรยาบรรณการใช้งาน อินเทอร์เน็ต

          จรรยาบรรณการใช้งาน อินเทอร์เน็ต คือ ข้อกำหนดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต พึ่งกระทำ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสงบ ไม่ขัดต่อกฎหมาย (เฉลิมพล เหล่าเที่ยง : บ.สายสุพรรณ จำกัด)


1. ผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ตั้งหมั่นอยู่บน กฎหมายบ้านเมือง

2. ไม่นำผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ในกรณีที่ต้องนำมาใช้งานต้องอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้

3. พึ่งระลึกเสมอว่าสิ่งที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ต อาจจะมีเด็กหรือผู้ที่ขาดประสบการณ์เข้ามาดูได้ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลควรที่จะเป็นไปในทางที่ดี มีคุณธรรม

4. ไม่ควรใส่ร้ายป้ายสี หรือสิ่งอื่นสิ่งใดอันจะทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้

5. การใช้คำพูดควรคำนึงถึงบุคคลอื่นๆ ที่อาจจะเข้ามาสืบค้นข้อมูลที่มีหลากหลาย จึงควรใช้คำที่สุภาพ6. ไม่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่นให้หลงผิด หลงเชื่อในทางที่ผิด

7. พึงระลึกเสมอว่า การกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะติดตามหาบุคคลที่กระทำได้ โดยง่าย

8. การกระทำความผิดทางอินเทอร์เน็ต บางกรณีเป็นอาชญากรรม ที่มีความผิดทางกฎหมาย

9. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

10. ต้องไม่รบกวน สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

11. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

12.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

13. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

14. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

15. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน

16.  ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
          
       ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นั้น นอกจากจะมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การถูก hack ข้อมูล หรือการขโมยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้งานสังคมออนไลน์เอง นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์หรือส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยจุดเด่นของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถมีความสะดวกและรวดเร็วในการเผยแพร่และการรับข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งของ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ณ ปัจจุบันซึ่งประเทศไทยกำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ประชาชนชาวไทยต่างก็ตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีข่าวสารครอบคลุมตั้งแต่การแจ้งพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบอุทกภัย การแจ้งเส้นทางจราจร การแจ้งให้อพยพ การประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบนาทีต่อนาที โดยที่ประชาชนไม่ต้องรอรับข้อมูลจากสื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุซึ่งอาจจะให้ข้อมูลได้ไม่เร็วทันใจประชาชนผู้กำลังตื่นตัวกับภาวะวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวไทยในช่วงอุทกภัยนั้นก็มิได้มีเฉพาะข่าวจริงที่เชื่อถือได้เสมอไป แต่กลับระคนไปด้วย ข่าวเท็จ ข่าวมั่ว และข่าวลือ เนื่องจากผู้ใช้งานบางคนเมื่อได้รับข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านหน้าเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แล้วก็ส่งต่อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแหล่งข่าวหรือความน่าเชื่อถือของข่าวสารนั้น ๆ บางคนก็พยายามกุข่าวลือและสร้างกระแสต่าง ๆ โดยการโพสต์รูปที่มีการตัดต่อและข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำาท่วมที่เกินจริงหรือไม่ชัดเจนในรายละเอียดซึ่งก่อให้เกิด ความสับสนและความตื่นตระหนกต่อประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะด้วยความคึกคะนองหรือด้วยการหวัง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็ตามเช่น ในทวิตเตอร์ของบางคนมีการโพสต์ข้อความว่าพบศพเด็กหรือเจองูพิษหรือจระเข้ลอยมาตามน้าที่นั่นที่นี่ โพสต์ว่าให้รีบกักตุนสินค้าชนิดนั้นชนิดนี้ไว้เนื่องจากสินค้ากำลังจะขาดตลาด หรือโพสต์ว่าสถานที่นั้นสถานที่นี้มีน้ำท่วมสูง ไม่สามารถสัญจรผ่านหรือเข้าไปใช้บริการได้ แล้วมีการ ทวีตกันต่ออย่างแพร่หลาย ซึ่งปรากฏว่าเมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนในพื้นที่และจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ก็พบว่าสถานการณ์ยังปกติและไม่มีเหตุการณ์ตามที่กล่าวอ้าง แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์บางคน ยังขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและความตระหนักถึงความรับผิดตามกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางกฎหมาย การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด เช่น การโพสต์รูปภาพหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือสร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมนั้น อาจเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฐาน (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากความรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์รูปหรือข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวแล้ว การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่ระบายความแค้นหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นโดยการโพสต์ข้อความว่าร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยความนึกสนุกหรือเพื่อต้องการให้คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้โพสต์ข้อความได้รับรู้ถึงความเลวร้ายหรือข้อมูลใน ด้านที่ไม่พึงประสงค์ของคนที่ถูกกล่าวถึง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน คู่อริสมัยเรียน หรือคนรักเก่าของสามี แม้จะทำให้ผู้โพสต์ข้อความได้รับความสะใจในชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็อาจทำให้เกิดทุกข์มหันต์ตามมา เนื่องจาก การโพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ในทางอาญานั้น ผู้กระทำอาจต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาซึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท หากกระทำ การโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะด้วยข้อความ เอกสาร ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพยนตร์ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ ที่เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในลักษณะที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือแม้แต่ในกรณีที่ผู้ที่ถูกใส่ความเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชังผู้ที่โพสต์ข้อความก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตายโดยการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากการโพสต์ข้อความนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเป็นการติชมบุคคลอื่นหรือสิ่งใดด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ เช่น การแสดงความคิดเห็นหรือติชมบุคคลสาธารณะด้วยความเป็นธรรม หรือแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเองตาม คลองธรรม ก็อาจไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท นอกจากนี้ ในกรณีที่การกระทำเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหากผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ในกรณีที่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ผู้ที่กระทำความผิดอาจต้องรับโทษแม้เรื่องที่ใส่ความจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม เพราะกรณีการใส่ความในเรื่องส่วนตัวนั้น กฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเรื่องที่ใส่ความเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงหากการพิสูจน์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ - ๓๓๐ ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น หากข้อความที่โพสต์ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ผู้โพสต์ข้อความจะต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานกระทำละเมิดโดยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็น ที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น โดยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ต้องเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น นอกเหนือจากโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้โพสต์ข้อความไม่รู้ว่าข้อความที่โพสต์นั้นไม่เป็นความจริงและตนเองหรือผู้รับข้อความมีส่วนได้เสียโดยชอบเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์นั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ดังนั้น ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จึงควรจะคิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความหรือสื่อใด ๆ ลงในหน้าสื่อสังคมออนไลน์นั้น เนื่องจากเมื่อขึ้นชื่อว่า สังคม” ไม่ว่าจะสังคมในชีวิตจริงหรือในโลกออนไลน์ ก็ย่อมต้องมีกฎ กติกาที่เราต้องรักษาเสมอเพื่อความสงบสุขของสังคม ดังสำนวนกฎหมายของโรมันที่กล่าวไว้ว่า “Ubi societas, ibi jus” “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย


          เป็นที่ทราบกันดีว่าสื่อในโลกออนไลน์ปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ การกระทำต่างๆในกิจวัตรประจำวันของบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านี้เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอนของชีวิต ยิ่งในขณะนี้ที่สื่อสังคม (Social Media) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน เพราะลักษณะเด่นและเสน่ห์ของมันที่ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายเพียงการพิมพ์หรือคลิก ผู้รับสารก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์จำพวก Facebook และ Twitter จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอข้อมูลของผู้ใช้ที่มีเนื้อหาความยาวไม่มากนัก


          ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่าเว็บไซต์ประเภทเหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่สื่อโดยธรรมชาติ แต่มีลักษณะความเป็นสาธารณะโดยส่วนตัว (Personic = Public+Person) ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากกับพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือบทความตามหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นการเขียนขนาดยาว แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์เหล่านี้ซึ่งไม่ใช่สื่อโดยธรรมชาติจะไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณหรือมาตรฐานความเหมาะสมทางสังคมในการใช้งาน เนื่องจากความมีจรรยาบรรณจะนำมาสู่ความน่าเชื่อถือ และความน่าเชื่อถือนั้นก็ต้องวัดจากเนื้อหา มิใช่รูปแบบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าผลลัพธ์ของสื่อสังคมนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ หากผู้ใช้มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงเพื่อปลุกปั่นหรือหวังผลทางการเมือง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นด้านลบ แต่หากผู้ใช้เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างเสมอภาคกัน มีความเป็นกลางในการนำเสนอความคิดเห็น และนำเสนอให้เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ผลลัพธ์ที่เกิดก็จะสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากกว่าเป็นแน่  โดยหลักแล้ว สิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์ของคนเราจะไม่แตกต่างกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออื่นๆ เพราะถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อ ในปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนได้มีการรับรองเสรีภาพในลักษณะนี้ไว้ในข้อ 19 ว่า ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกสิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิดโดยปราศจากความแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มีการรับรองการกระทำประเภทนี้เช่นกัน ในมาตรา 45 วรรคแรก ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ดังนั้นการกระทำเช่นนี้จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเช่นกัน  แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีเสรีภาพเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าเขตแดนของเสรีภาพแต่ละบุคคลย่อมจะชนและทับซ้อนกัน ในบางกรณีกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดูเหมือนว่าเขตแดนของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะมีมากจนบางครั้งอาจมีมากเกินไปด้วยซ้ำ ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน

         
        ในเรื่องเกี่ยวกับการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวนั้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ได้รับการคุ้มครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่งคนในสังคมส่วนมากอาจละเลยและไม่ใส่ใจถึงความสำคัญของจุดนี้ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ในมาตรา 35 มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน

อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

ซึ่งหากคนในสังคมให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแล้วนั้น ปัญหาของสังคมออนไลน์อาจมีน้อยลงก็เป็นไป  แต่ปัจจุบัน เมื่อคนละเลยถึงการเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของคนด้วยกัน รัฐจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน


       ณ จุดนี้เองที่ปัญหาได้เกิดขึ้น กล่าวคือ ถึงแม้การมีกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐสามารถกำกับ ดูแลสังคมออนไลน์ให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อผู้ใช้ด้วยกัน แต่ก็มีการถกเถียงในสังคมถึงเนื้อหาที่คลุมเคลือของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ในทางละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้ เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความดังนี้


    “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

           (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

           (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

           (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

           (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

           (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)”

          ความคลุมเคลือของฐานความผิด และโทษบางประการที่มีการทับซ้อนกับโทษที่มีอยู่ตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ได้ส่งผลให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมรับกฎหมายฉบับนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลดีตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ในหลักการ แต่โอกาสที่ผู้ใช้ซึ่งไม่มีเจตนาทำผิดหรือจงใจสร้างความเสียหายต่อสังคมก็มีโอกาสสูงที่จะโดนความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้มีเจตนาแอบแฝงหรือจงใจสร้างความวุ่นวายให้สังคมรวมถึงละเมิดสิทธิผู้อื่นอาจไม่โดนความผิด เพราะในโลกสังคมออนไลน์ ความจริงที่ถูกบิดเบือนมีมากอย่างมหาศาล และความเท็จที่ถูกรับรู้กันว่าเป็นความจริงที่ถูกต้องก็มีมากอย่างมหาศาลเช่นกัน สิ่งที่จะทำให้สังคมออนไลน์อยู่ในทิศทางที่เหมาะที่ควรต่อตัวผู้ใช้ ก็คือมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตัวผู้ใช้เป็นสำคัญ กฎหมายถึงจะมีเนื้อหาที่ดีสักเพียงใดหากแต่ผู้ใช้ไม่มีความสำนึกต่อความรับผิดชอบและจริยธรรมขั้นพื้นฐานในด้านสิทธิและหน้าที่ กฎหมายนั้นก็จะไม่เป็นผล อีกทั้ง หากผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ดำเนินการตามหน้าที่ในทางที่ถูกที่ควร กฎหมายก็จะไม่สัมฤทธิผลเช่นกัน


       ในการนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน จึงได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ.2553 ด้วยเหตุผลความจำเป็นส่วนหนึ่ง คือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสานเป็นจำนวนมาก แนวปฏิบัตินี้จึงเป็นการกำหนดให้สื่อมวลชนได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์


           ในอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะด้วยการเข้าถึงที่ง่ายของสังคมโลกออนไลน์ ทำให้มีตัวแสดงที่เป็นทั้งสื่อ "ตัวจริง" และ "ตัวปลอม" เข้าไปใช้เครื่องมือที่ว่าเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังสาธารณะ ผลลัพธ์ที่เกิดคือ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวที่สร้างความเสียหายจึงเริ่มปรากฏมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาให้องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนจำเป็นต้องร่างแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนตัวจริงมีน้ำหนัก มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น


       โดยเนื้อหาหลักของแนวปฏิบัตินี้ เป็นการพูดถึงการที่สื่อมวลชนต้องพึงระวังในการหาข้อมูลและนำเสนอ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การนำเสนอต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมรวมถึงไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นเสียหายอย่างรุนแรงภายในชาติ ที่สำคัญในข้อที่ 7 ของแนวปฏิบัตินี้ได้พูดถึงสิ่งที่น่าสนใจไว้ด้วยว่า การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ข่าว’ กับ ความเห็น’ ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ”  อีกทั้งในแนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สื่อสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการรับรองสถานะของสื่อออนไลน์ไปในตัวเลยว่า พฤติกรรมใดๆที่กระทำบนสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ


       สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของแนวปฏิบัตินี้ คือ ข้อที่ 12 ของแนวปฏิบัติดังกล่าว ความว่า หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย” นั้น แสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้ใช้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่สำคัญยิ่งที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ควรมี ไม่ใช่เพียงแต่สื่อมวลชนอาชีพเท่านั้น

       จากทั้งหมดทั้งมวล กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำกับ ดูแลและตรวจสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากเราต้องการให้พื้นที่สังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ใครก็ตามสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยตั้งอยู่บนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน แนวทางและวิธีการที่ดีที่สุด คือ ผู้ใช้ควรมีระบบกำกับ ดูแลและตรวจสอบกันเอง หากผู้ใช้มีมาตรฐานทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณาในฐานะที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดีแล้วนั้น สังคมออนไลน์ก็จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ


          Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
          1) Blog
          2) 
Social Networking
          3) 
Microblog
          4) 
Media Sharing
          5) 
Social News and Bookmaking
          

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 1. Blog มาจากคาเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress, blogger เป็นต้น




2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำ เพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook, Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น





3. Micro Blog  เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร





4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Flickr และ 4shared เป็นต้น





5. Social News and Bookmarking เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและสามารถให้คะแนนและเลือกบทความหรือเนื้อหาใดที่น่าสนใจที่สุดได้ ผู้ใช้สามารถ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบได้ รวมทั้งยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ด้วย








เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

  เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม    ใ ช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อ...